top of page

ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น

“ดิน” (soils) หมายถึง เทหวัตถุทางธรรมชาติ (natural body) ที่เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆ ผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุซึ่งปกคลุมผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ เป็นวัตถุที่ค้ำจุนการเจริญเติบโตและการทรงตัวของพืช มีการแบ่งชั้น (horizon) ที่สามารถสังเกตเห็นได้จากตอนบนลงไปตอนล่าง มีอาณาเขตและลักษณะประจำตัวของมันเอง ซึ่งมนุษย์สามารถแบ่งแยกดินออกเป็นชนิดต่างๆ ได้

1. แร่ธาตุอาหาร ซึ่งเป็นส่วนที่เกิดจาการสลายตัวของหินและแร่ธาตุ หรือ เรียกว่า อนินทรียวัตถุ มีอยู่ประมาณ 45 เปอร์เซนต์

2. ซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย ผุพัง  หรือ เรียกว่า อินทรียวัตถุ มีอยู่ประมาณ 5 เปอร์เซนต์

3. อากาศ มีอยู่ในช่องว่างระหว่างก้อนดิน  มีอยู่ประมาณ 25 เปอร์เซนต์

4. น้ำ ที่อยู่ในช่องว่างระหว่างก้อนดิน  มีอยู่ประมาณ 25 เปอร์เซนต์

ทรัพยากรป่าไม้ (Forest Resources ) หมายถึง ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคม ของป่าทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต ดังนั้นทรัพยากรป่าไม้จึงหมายรวมถึงทรัพยากรอื่นๆ มีผลสืบเนื่องมาจากป่าไม้ ได้แก่ สัตว์ป่า ของป่า ที่ดิน ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร และสภาพแวดล้อมทั่วไปของป่าทรัพยากรป่าไม้นับว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง ทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีผลต่อความมั่นคงของประเทศด้วย ซึ่งแบ่งประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ได้ดังนี้

            1. ประโยชน์ทางตรง ได้แก่ ไม้ที่นำมาใช้สอย ก่อสร้างบ้านเรือนและเครื่องใช้ต่างๆ ฟืนและถ่านที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง สมุนไพรต่างๆ ที่นำมาทำเป็นยารักษาโรค ส่วนต่างๆ ที่ใช้ทำเป็นเครื่องเขิน น้ำหอม น้ำมันผสมสี สบู่ เปลือก แก่นและผลของไม้ชนิดต่างๆ สำหรับฟอกหนังและสี

             2. ประโยชน์ทางอ้อม ซึ่งไม่สามารถคำนวณเป็นมูลค่าได้ แต่มีความสำคัญ มาก เช่น ป่าไม้ช่วยให้มีน้ำไหลอย่างสม่ำเสมอตลอดปี ช่วยบรรเทาความรุนแรงของอุทกภัย ช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุ ช่วยรักษาระดับความชุ่มชื่นของอุณหภูมิในอากาศ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจประกอบกิจกรรมนันทนาการองประชาชน

น้ำ คือสิ่งจำเป็นบนโลก
น้ำ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
น้ำ เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
Palm Trees
Misty Slopes
ป่าไม้
สัตว์ป่า
สัตว์ป่า

ทรัพยากรดิน

ส่วนประกอบของดิน

ทรัพยากรน้ำ

น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็น มนุษย์ใช้ประโยชน์จากน้ำในกิจกรรมต่างๆ ทั้งอุปโภคบริโภค การคมนาคมขนส่งอุตสาหกรรม ผลิตพลังงาน เกษตรกรรม รวมทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แหล่งน้ำที่สำคัญสายหลักของประเทศไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำมูล แม่น้ำชี เป็นต้น

เราได้รับน้ำจาก 3 แหล่ง

3. น้ำใต้ดิน  หมายถึงน้ำที่แทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างเนื้อดิน หรือเนื้อหินชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีบริเวณอยู่ตั้งแต่ระดับผิวดินลงไป โดยอาจแบ่งออกเป็นน้ำในดิน (soil water) ได้แก่น้ำที่แทรกอยู่ในช่องว่างของเนื้อดิน  อีกประเภทหนึ่งได้แก่น้ำใต้ดิน (underground water)  เป็นน้ำที่อยู่ในระดับลึก  อาจแทรกอยู่ในชั้นทรายละเอียดถึงหยาบ หรือชั้นกรวด ปิดกั้นด้วยหินเนื้อแน่น ไม่ซึมน้ำ หรือขังอยู่ในรอยแตก รอยร้าวหรือโพรงหินเนื้อแน่นไม่ซึมน้ำ

1. หยาดน้ำฟ้า เช่น หิมะ ลูกเห็บ ฝน น้ำค้าง หมอก (น้ำฝนเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของไทย)

2. น้ำผิวพื้นหรือน้ำท่า ได้แก่น้ำที่ขังหรือที่ไหลอยู่ตามผิวพื้นดิน เช่นน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ห้วย ลำธาร และอ่างเก็บน้ำ   ปริมาณของน้ำผิวพื้นจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปริมาณน้ำฝน เพราะน้ำฝนที่ตกลงมาบางส่วนจะซึมลงใต้ดิน บางส่วนจะไหลไปตามผิวพื้นลงสู่แม่น้ำลำธารหรือขังอยู่ตามแอ่ง  ตามที่ลุ่มต่างๆ บางส่วนจะระเหยกลับสู่บรรยากาศ ในช่วงฤดูฝนจะพบว่าแหล่งน้ำผิวพื้นทั่วๆไปจะมีระดับน้ำสูงกว่าในช่วงฤดูหนาวหรือฤดูร้อน

ลำธาร

ลำธาร

คลอง

คลอง

บึงน้ำ

บึงน้ำ

อ่างเก็บน้ำ

อ่างเก็บน้ำ

แม่น้ำ

แม่น้ำ

ทรัพยากรป่าไม้

ทรัพยากรสัตว์ป่า

          สัตว์ป่า ตามความหมายตามพระราชบัญญัติสงวนคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 หมายถึง สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าสัตว์บก สัตว์ปีก แมลง หรือ แมง ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และให้ความหมายรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะแล้ว และสัตว์พาหนะที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะดังกล่าว สัตว์ป่าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง

สัตว์ป่าสงวน

สัตว์ป่าสงวน หมายถึงสัตว์ป่าที่หายากจำนวน  15  ชนิด คือ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร  แรด  กระซู่  กูปรีหรือโคไพร  ควายป่า  ละองหรือละมั่ง  สมันหรือเนื้อสมัน  เลียงผาหรือเยืองหรือกูรำหรือโครำ  กวางผา  นกแต้วแร้วท้องดำ  นกกระเรียน  แมวลายหินอ่อน  สมเสร็จ  เก้งหมอ  พะยูนหรือหมูน้ำ สัตว์ป่าทั้ง 15 ชนิดนี้ห้ามล่าโดยเด็ดขาดเว้นแต่จะทำเพื่อการศึกษาหรือเพื่อกิจการของสวนสัตว์สาธารณะ โดยต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ ซากของสัตว์ป่าเหล่านี้จึงห้ามมีไว้ในครอบครอง ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจากทางราชการ

กด                   เพื่อรับชมภาพ
 
สัตว์สงวนแต่ละชนิด
สัตว์ป่าคุ้มครอง

สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าที่มีพระราชบัญญัติไว้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 หมายถึง สัตว์ป่าซึ่งคนไม่ใช้เนื้อเป็นอาหาร ไม่ล่าเพื่อการกีฬา เป็นสัตว์ที่ทำลายศัตรูพืชหรือขจัดสิ่งปฏิกูล หรือเป็นสัตว์ป่าที่ควรสงวนไว้เพื่อประดับความงามตามธรรมชาติหรือสงวนไว้เพื่อไม่ให้ลดจำนวนลง สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 นี้ ห้ามไม่ให้ล่าด้วยวิธีทำให้ตายเว้นแต่จะทำเพื่อการศึกษาวิจัยทางวิชาการ โดยต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ก่อน สัตว์ป่าประเภทนี้มีด้วยกัน 166 รายการ เช่น ช้าง ชะมด กระรอก ลิง ชะนี ค่าง เม่น นาก แมวป่า เสือปลา อีเห็น หนูหริ่ง และหมาไม้ นอกนั้นเป็นนกอีก 130 ชนิด เช่น นกกวัก นกกาบบัว นกขุนทอง นกเงือก นกเขาไฟ เป็นต้น

ช้าง
กระรอก
นกกาบบัว
นกเหงือก
ชะมด
ค่าง
Monkey in Tree

สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 หมายถึง สัตว์ป่าซึ่งตามปกติคนใช้เนื้อเป็นอาหาร หรือล่าเพื่อการกีฬา สัตว์ป่าประเภทนี้มีทั้งหมด 29 ชนิด เช่น กระทิงหรือเมย กระจงทุกชนิด กวาง วัวแดงหรือวัวดำหรือวัวเพลาะ เสือโครง เสือดาว หมีควายหรือหมีดำ หมีหมาหรือหมีคน อีเก้งหรือฟาน และนกอื่นๆ อีก 19 ชนิด เช่น นกกระสา นกแขวก นกเป็ดน้ำ นกอีโก้ง ไก่ป่า เป็นต้น สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 นี้ ตามกฎหมายอนุญาตให้ล่าได้ ให้มีไว้ในครอบครองได้แต่ต้องได้รับอนุญาตและมีใบอนุญาตติดตัวอยู่ตลอดเวลา ผู้ล่าต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับวิธีการ อาวุธที่ใช้ สถานที่ ระยะเวลาที่ทำการล่า และต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วย

e0b980e0b8aae0b8b7e0b8ad
53
Grizzly Bear
Cheetah
Deer in the Woods
bottom of page