top of page

ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ตัดไม้ทำลายป่า
มลพิษจากคราบน้ำมัน
อัคคีภัย
มลพิษทางอากาศ
ปัญหาน้ำเน่าเสีย
Mountain Lake

มลพิษทางน้ำ ( Water Pollution )​

มลพิษทางน้ำ ( Water Pollution ) หมายถึง สภาวะที่น้ำมีคุณภาพเปลี่ยนไปจากธรรมชาติเดิม จนมีสภาพที่เลวลง และส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในน้ำ

ทิ้งน้ำเสียลงคลอง
ขยะในแม่น้ำ
มลพิษจากคราบน้ำมัน

สาเหตุที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ

1. แหล่งชุมชน ได้แก่ อาคารบ้านเรือน สำนักงาน อาคารพานิชย์ โรงแรม และโรงพยาบาล ที่ปล่อยมวลสารปะปนมากับน้ำทิ้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ และสารที่ใช้ผักซักฟอกทำความสะอาด

2. โรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานทำน้ำตาลและน้ำปลา โรงงานซักฟอก โรงงานทำสี โรงงานฟอกหนัง และโรงงานผลิตน้ำอัดลม การปล่อยของเสียลงในน้ำจากโรงงานต่างๆ เหล่านี้มักมีอัตราสูงทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย

3. แหล่งเกษตรกร ปัจจุบันแหล่งเกษตรกรต่างๆ นิยมใช้น้ำยาปราบศัตรูมากขึ้น ทำให้เกิดการตกค้างตามต้นพืชและตามผิวดิน และจะถูกชะล้างไปกับน้ำฝนไหลไปตามแหล่งน้ำต่างๆ โดยแหล่งน้ำที่สลายตัวช้าจะเกิดการสะสมในแหล่งน้ำมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้

4. แหล่งน้ำต่างๆ ซึ่งอาจเกิดการเน่าเสียได้เองเมื่ออยู่ในภาวะขาดออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการสะพรั่งของแพลงก์ตะกอน แล้วตายลงพร้อมๆ กัน

ดัชนีที่บ่งบอกการเกิดมลพิษทางน้ำ ได้แก่อุณหภูมิ ความเป็นกรด-เบส ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำหรือค่าดีโอ ค่าบีโอดี ปริมาณสารโลหะหนัก สารฆ่าแมลง ตลอดจนแบคที่เรีย เป็นต้น

การแก้ไขมลพิษของน้ำ

การแก้ไขมลพิษของน้ำ ในกรณีที่น้ำนั้นเกิดมลพิษ รูปแบบของการจัดการอาจใช้วิธีการแยกหรือทำลายสิ่งสกปรกต่างๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของสารละลาย และอยู่ในรูปของสารที่ไม่ละลายน้ำให้หมดไป และลดปริมาณสารพิษลงด้วยวิธีการบำบัดน้ำเสีย ให้เป็นน้ำที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ 

มลพิษทางดิน

สาเหตุของการเกิดมลพิษทางดิน

ส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์ที่ใช้ประโยชน์จากสารเคมีด้านต่างๆ

1. การใช้ปุ๋ยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร

2. การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

3. การปล่อยให้น้ำเสียจากกระบวนการผลิต

4. การทิ้งขยะ

การจัดการและการแก้ปัญหามลพิษทางดินและปัญหาเสื่อมโทรมของดิน​

1. การอนุรักษ์ดิน

2. การป้องกันการพังทลายของหน้าดิน

3. การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

4. การปรับปรุงสมบัติของดิน

ดินเปรี้ยว เป็นดินที่มึความเป็นกรดมาก มีค่า pH ต่ำกว่า 4.5 ซึ่งเกิดจากมีแร่ธาตุที่สลายตัวแล้วให้กรดในปริมาณมาก เช่น แร่ไพไรต์ (FeS2) หรือแร่กำมะถันอื่นๆ พบได้ทางภาคกลางและบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก โดยเฉพาะรังสิต จ.ปทุมธานี และองครักษ์ จ.นครนายก พื้นดินมีความเป็นกรดจัด ค่า pH ต่ำกว่า 4

วิธีแก้ไข : ใช้ปูนมาร์ล ซึ่งเป็นปูนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแคลเซียมคาร์บอเนต ปูนมาร์ลจะช่วยแก้ความป็นกรดในดินได้ดี มีผลทำให้ดินร่วน ระบายน้ำได้ดี ไม่แน่นทึบ

 

ดินเค็ม ประเทศไทยมีอยู่ 2 พื้นที่สำคัญ คือ ดินเค็มบริเวณชายทะเลและที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาเหตุเนื่องจากมีการสลายตัวของดินและหินที่มีเกลืออยู่ด้วย ทำให้ดินมีปริมาณเกลือสะสมมากกว่าปกติ

วิธีแก้ไข : อาจทำได้โดยอาศัยกระบวนการชะล้างด้วยน้ำจืด ชะพาเอาเกลือออกไปจากหน้าดิน หรือใช้สารประกอบยิปซัม (CaSO4.2H2O) เข้าช่วยปรับปรุงฟื้นฟู และต้องพยายามให้ดินชื้นอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้น้ำใต้ดินถูกดึงขึ้นมาที่ผิวหน้าดิน เพราะจะทำให้เกลือถูกดึงขึ้นมาตามผิวดินด้วย

มลพิษทางอากาศ (Air pollution)

มลพิษทางอากาศ (Air pollution) หมายถึง การที่อากาศหรือสารเคมี หรือมลพิษสารที่ปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศในปริมาณที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและมนุษย์

สาเหตุการเกิดมลพิษทางอากาศ​

1. มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากการสลายตัวของซากพืช ซากสัตว์ โดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์ทำให้เกิดแก๊ส ”ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ซึ่งก่อให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็นและพบว่าการที่น้ำท่วมขังไร่นาเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดแก๊สมีเทน (CH4) ซึ่งเป็นแก๊สที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก หรือการเกิดภูเขาไฟระเบิด อาจทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้

2. มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ หรือกิจกรรมการดำรงชีวิตจากการคมนาคมต่างๆ มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้วปล่อยก๊าซพิษออกมา เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX) เป็นต้น การเผาขยะทิ้งขยะจะก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง หรือสารเคมีทางการเกษตรจะทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของสารเคมี รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมจัปล่อยสารพิษออกมาเจือปนในอากาศ

มลสารที่ปนเปื้นในอากาศ ได้แก่

1. อนุภาคแขวนลอยในอากาศ มีทั้งอยู่ในรูปของฝุ่นละอองของแข็ง เช่น ฝุ่นละอองจากหิน ดิน ทราย ฝุ่นละอองของเถ้าถ่าน เขม่าควันท่อไอเสียรถยนต์ และอนุภาคของเหลวเช่นละอองไอในอากาศ เช่น ละอองของสารกำจัดศัตรูพืช ไอกรด หรือละอองของสารเคมี อนุภาคแขวนลอยเหล่านี้อาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจ โรคปอด

2. คาร์บอนมอนอกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ขงสารประกอบคาร์บอน เช่นการเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม แก๊สธรรมชาติ คาร์บอนมอนอกไซด์จากไอเสียรถยนต์ จะลอยเข้าผสมกับอากาศได้ง่าย และลอยขึ้นไปในระยะสูงๆ ดังนั้นผู้ที่อาศัยอยู่ในที่สูงจึงได้รับมลสารใกล้เคียงกับผู้ที่อาศัย ระดับล่าง คาร์บอนไดออกไซด์ที่หายใจเข้าไปจะไปรวมกับฮีโมโกลบิน ในเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงลำเลียงก๊าสออกซิเจนได้น้อยลง อาจทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นนานๆ อาจเกิดอาการพร่ามัว ความจำเสื่อม หายใจเร็ว เจ็บหน้าอก ได้รับในปริมาณมากทำให้หมดสติ เสียชีวิตได้

3. คาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของธาตุคาร์บอน และสารอินทรีย์ เมื่อรวมกับการหายใจของพืชและสัตว์ที่ปล่อยออกมา ธรรมชาติจะมีกลไกคใววบคึมปริมาญของคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์แสง แต่เมื่อมีการาผาไหม้เชื้อเพลิงจากยานพาหนะ การเผาขยะ การเผาป่า ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ก จึงเพิ่มปริมาณขึ้นด้วย เมื่อคนสูดดมเข้าไปอาจทำให้มีอาการมึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย

4. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีธาตุกำมะถันผสมอยู่ ได้แก่ ถ่านหินลิกไนต์ น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันปิโตรเลียม ฟืน ถ่านไม้ การถลุงแร่ ทำให้กำมะถันที่เจือปน อยู่ในสินแร่รั่วไหล ออกมาระหว่างกระบวนการถลุง และเมื่อรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนในอากาศกลายเป็น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เมื่อซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากับกับก๊าซออกซิเจนในอากาศจะกลายเป็น ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) มักเรียกออกไซด์ของซัลเฟอร์ (SOX) นอกจากนี้ SO3 สามารถรวมกับไอน้ำในอากาศได้ กรดซัลฟิวริก (H2SO4) หรือกรดกำมะถันทำให้เกิดฝนกรดมีฤทธิ์ในการกัดกร่อน ซึ่งทั้งหมดนี้มีอันตรายต่อพืช สัตว์และมนุษย์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทำให้พืชมีใบสีเหลืองไม่สามารถสังเคราะห์แสลงได้ด้วยแสงได้ ในสัตว์จะมีการระคายเคืองบริเวณผิวหนัง นัยน์ตา เป็นมะเร็งปอด

5. สารประกอบไฮโดรคาร์บอน มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่นแก๊สมีเทน ซึ่งเกิดจากการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ ซากพืชซากสัตว์และพบได้ในธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิง นอกจากนั้นยังเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่นการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การเผาไหม้ถ่านหิน การระเหยของน้ำมันปิโตรเลียม การระเหยของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ออกทางท่อไอเสียเรียกว่าควันขาว ไฮโรคาร์บอนจะทำปฏิกิริยากับออกไซด์ของไนโตรเจน และออกซิเจนในอากาศ ทำให้เกิดหมอกควันเมื่อมนุษย์สูดสารพิษชนิดนี้เข้าไป ทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจเป็นมะเร็งปอด

6. ตะกั่ว เป็นโลหะสีเทาเงินเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในเปลือกโลก สารตะกั่วในรูปสารประกอบ อนินทรีย์ เช่น ไนเตรต คลอเรต ซึ่งเป็นสารเติมผสมในน้ำมันเบนซิน เมื่อน้ำมันเผาไหม้ในรถยนต์ สารตะกั่วจะปนออกมากับไอเสียสามารถแพร่กระจายไปไกลได้หลายกิโลเมตร ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ ไม่สลายตัว เมื่อสูดดมเข้าไปจะสะสมอยู่ในปอด และกระแสเลือดทำลาย ระบบประสาท มีพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้การย่อยอาหารผิดปกติ เบื่ออาหาร ปวดท้องอย่างรุนแรง ทำลายการทำงานของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้น เป็นโรคโลหิตจาง นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคหอบหืด

7. ปรอท ปนเปื้อนในอากาศในรูปของไอปรอท เพราะปรอทสามารถกลายเป็นไอในอุณหภูมิปกติ มีแหล่งกำเนิดจากโรงงานผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โรงงานผลิตเครื่องสำอาง โรงงานกระดาษ สารปราบศัตรูพืช ไอปรอทที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ เมื่อเข้าไปพร้อมกับลมหายใจทำให้เกิดอาการหนาวสั่น แน่นหน้าอก ถ้าเป็นสารประกอบของปรอท ที่ปะปนกับอาหารผสมอยู่ในร่างกาย ทำให้ปวดท้องอาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ มีผลต่อระบบประสาท ทำลายสมอง และตา ซึ่งเป็นอาการของโรคมินามาตะ

8. แคดเมียม ที่พบในอากาศอยู่ในอากาศจะอยู่ในรูปของฝุ่นหรือไอจากยานพาหนะ หรือจากกระบวนการหลอม พ่น ฉาบโลหะ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสะสมอยู่ในไต ทำลายเซลล์ของหน่วยไต และมีการสะสมอยู่ในกระดูก ทำให้กระดูกผุกร่อน หักง่าย เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง เรียกว่า โรคอิไตอิไต

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศ

1. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ มลพิษทางอากาศจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดต่ำลง มีฝนสภาพเป็นกรด ทำให้พืชตายหรือเจริญเติบโตไม่ดี ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรลดลง ทำลายสิ่งก่อสร้าง จำพวกเหล็กคอนกรีต และหินอ่อนให้เสื่อค่าเร็วกว่าปกติ มลพิษทางอากาศยังเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม เช่น ม่านหมอกควัน ทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี ก่อให้เกิดอุบัติเหตุและทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน จำนวนมหาศาล

2. ผลกระทบด้านสุขภาพอนามัย ประชากรที่อาศัยในบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศ จะมีผลกระทบต่อทางร่างกายทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหัวใจ โรคมะเร็งปอด หลอดลมอักเสบ ความจำเสื่อม สายตาพร่ามัว เป็นต้น

3. ผลกระทบต่อพืช ทำให้การเจริญเติบโตของพืชช้าลง เพราะเขม่าควันเกาะที่ผิวใบและทำให้ปากใบพืชอุดตัน ดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้น้อยลง ทำให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงลดลง นอกจากนี้มลพิษทางอากาศยังทำให้สภาพอากาศมืดครึ้มแสงส่องมาน้อยกว่าปกติ

 

การจัดการและแนวทางในการแก้ไขมลพิษทางอากาศ

1. การกำหนดนโยบายและวางแผนหรือควบคุมมลพิษ เช่นการวางผังเมืองให้เหมาะสมต่อสภาพท้องถิ่นและกิจกรรมทางชุมชน โดยแบ่งออกเป็นเขตต่างๆ ไม่ปะปนกัน เช่นเขตชุมชน เขตอุตสาหกรรม

2. ให้การศึกษาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา เจ้าของกิจการให้ตระหนักถึงมลพิษทางอากาศ

มลพิษทางเสียง

มลพิษทางเสียง หมายถึง สภาวะที่สภาพแวดล้อมมีเสียงดังเกินไปจนก่อให้เกิดความรำคาญและอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนุษย์และสัตว์

 

องค์การอนามัยโลก กำหนดระดับเสียงเป็นพิษหรือดังเกินไปไว้ที่ 85 เดซิเบล และระดับเสียงที่บุคคลทนรับฟังได้ไม่เกิน 115 เดซิเบล สำหรับประเทศไทยกำหนดค่ามาตรฐานระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไว้ที่ 70 เดซิเบล

การได้รับฟังเสียงที่ดังเกินกว่า 115 เดซิเบล จะรู้สึกปวดหู แต่การรับฟังเสียงที่มีความดัง 70 เดซิเบล อย่างต่อเนื่องทั้งวัน อาจทำให้ประสาทหูเสื่อมและสูญเสียการได้ยินก่อนวัยอันสมควรได้

bottom of page